Thursday, August 18, 2011

กระแสหลัก อบรมเป็นแพทย์เฉพาะทาง

ปัจจุบัน พบว่า ร้อยละแปดสิบของแพทย์ที่จบมา จะเข้าสู่การอบรมแพทย์เฉพาะทาง (specialist tract)สาขาใดสาขาหนึ่ง เหลือแพทย์เพียงร้อยละยี่สิบที่คงทำงานเป็นแพทย์ทั่วไป(generalist tract) โดยไม่เข้าอบรมในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่จากที่กล่าวไว้ตอนที่แล้วว่า ความจริงแม้จะเป็นแพทย์ทั่วไป ก็ควรที่จะได้เข้ารับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อเป็นแพทย์ทั่วไป อย่างที่ทำในอังกฤษ อเมริกา หรือประเทศที่เจริญแล้วเขาทำกัน ของอังกฤษก็คือ แทรคจีพีหรือเจเนอรัลแพรคทิชันเนอร์ (general practitioners) ส่วนอเมริกา ก็คือสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว (family medicine) ซึ่งปัจจุบันไทยเราก็มีการอบรมในสาขานี้แล้ว แต่ไม่ได้บังคับว่าแพทย์ทุกคน ถ้าไม่เลือกเฉพาะทางอื่น แล้วก็ต้องเลือกอันนี้ และไม่มีระบบเฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญในการส่งต่อที่ชัดเจนเหมือนที่ควรจะมีจะเป็น

แต่เมื่อไม่กี่ปี (จริงๆ ก็นานอยู่) เพื่อให้แพทย์ออกไปใช้ทุนให้ครบ (เพื่อแก้ปัญหาการกระจายของแพทย์ไม่เหมาะสม) ก็มีความพยายามออกกฎในการเข้ารับการอบรมแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย โดยแพทยสภา เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นของแต่ละสาขาด้วย โดยแบ่งเป็นสาขาขาดแคลนที่สามารถเข้ารับการอบรมได้เลย และสาขาที่ต้องใช้ทุนให้ครบก่อน แต่ที่บังคับถ้าต้องการอบรมในประเทศคือจะต้องผ่านการฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะ (Internship) เป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งก็คือ การออกไปอยู่ที่โรงพยาบาลทั่วไป (หรือโรงพยาบาลศูนย์) และผ่านวอร์ดสำคัญๆ คือ อายุรกรรม กุมาร สูติ นรีเวช และ ศัลยกรรม (ส่วนใหญ่ก็จะมีออร์โธ พ่วงมา) มีการประเมินโดยแพทย์ประจำ และออกหนังสือให้ ก็เท่ากับว่า แพทย์ไทย ต้องผ่านการอบรมในปีแรกเป็นอย่างน้อย แม้จะเป็นแพทย์ทั่วไป ไปตลอด และไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนในเวลาต่อมา ก็นับว่ามีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าแพทย์นั้นไม่สนใจจะเทรนในประเทศ การเพิ่มพูนทักษะนี้ก็ไม่มีความจำเป็น แต่จำนวนแพทย์ตรงนี้ยังนับว่าน้อยอยู่ ไม่ได้มีผลกระทบต่อภาพรวม แพทย์เอกชน (ซึ่งปัจจุบันมีที่เดียวคือ ม รังสิต) จะมีปัญหาแตกต่างกับแพทย์จากรัฐบาล คือไม่ต้องใช้ทุน ก็จะต้องหาที่ไปเพิ่มพูนทักษะกันจ้าละหวั่น เพื่อให้สามารถเข้ามาเทรนได้ในภายหลัง


แต่แพทย์จะลาออกกันมากเรียกว่าเกือบครึ่ง ภายในปีสอง หรือ ปีสาม เพื่อเข้ามาอบรมหรือ ลาออกไปทำคลินิก หรือ อยู่เอกชนอะไรก็ตามที อันนี้ มีปัญหาแน่นอน ส่วนพวกที่อยู่ต่อ ก็อาจจะเพื่อเอาทุน มาเพื่อฝึกอบรม ซึ่งมักจะกล่าวว่า โอกาสจะได้รับเลือกให้เรียนมากกว่า เป็นพวกไม่มีต้นสังกัด (อิสระ) ซึ่งจริงเท็จประการใด เราคงมาดูอีกที แล้วก็อาจจะกลับไปใช้ทุนหรือไม่ ก็มี ที่แน่ๆ ก็คือ ตอนนี้ ผุ้เชี่ยวชาญเริ่มเยอะกว่าหมอทั่วไป (ซึ่งมีแต่หมอจบใหม่ และใช้ทุนอยู่ พอพ้นระยะใช้ทุน ก็ตะเกียกตะกายมาหาความรู้เพิ่ม) และการกระจายกระจุกในเมืองใหญ่ (หากินง่ายกว่า ใกล้บ้าน ใกล้ครอบครัว และอีกหลายสาเหตุ)  การเลือกเส้นทางเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และแต่ละคนก็มีเหตุผลต่างๆ กันไป ไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครถูก ใครผิด แต่สัญญาที่ทำไว้ ก็มีผลต่อจำนวน อัตรา แผนบุคลากรในภาพรวมที่ตามมาภายหลังได้ ดังนั้น ผมก็ยังสนับสนุนให้ทำตามสัญญาที่ไปทำเอาไว้ ถ้าใจและกายไม่ได้อยากอยู่ตั้งแต่ต้น คือกะมาเรียนแล้วชิ่งแน่ ก็อย่าทำเลยครับ แต่ถ้ามันสุดวิสัย ย้ายตามคู่สมรส ปัญหาการเงิน ที่อยู่ หรืองาน อันนี้ก็สุดแล้วแต่ ต้องคิด ต้องว่ากันเป็นรายๆไป

เอาล่ะ สำหรับสาขาที่มีการอบรมแพทย์ประจำบ้านโดยไม่ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะ เพราะขาดแคลนก็มีดังนี้
                    ( ๑ ) กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด
                    ( ๒ ) จิตเวชศาสตร์
                    ( ๓ ) จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
                    ( ๔ ) นิติเวชศาสตร์
                    ( ๕ ) พยาธิวิทยากายวิภาค
                    ( ๖ ) พยาธิวิทยาคลินิก
                    ( ๗ ) พยาธิวิทยาทั่วไป
                    ( ๘ ) รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
                    ( ๙ ) เวชศาสตร์ครอบครัว
                    ( ๑๐ ) เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
                    ( ๑๑ ) เวชศาสตร์นิวเคลียร์
                    ( ๑๒ ) อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
                    ( ๑๓ ) อายุรศาสตร์โรคเลือด

ส่วนสาขอื่นๆ ทีมีอบรมในประเทศไทย ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะ และหรือ ใช้ทุนให้ครบก็ได้แก่
          ( ๑ ) กุมารเวชศาสตร์
          ( ๒ ) กุมารศัลยศาสตร์
          ( ๓ ) จักษุวิทยา
          ( ๔ ) ตจวิทยา
          ( ๕ ) ประสาทวิทยา
          ( ๖ ) ประสาทศัลยศาสตร์
          ( ๗ ) รังสีวิทยาทั่วไป
          ( ๘ ) รังสีวิทยาวินิจฉัย
          ( ๙ ) วิสัญญีวิทยา
          ( ๑๐ ) เวชศาสตร์ป้องกัน ( แขนงระบาดวิทยา )
          ( ๑๑ ) เวชศาสตร์ป้องกัน ( แขนงเวชศาสตร์การบิน )
          ( ๑๒ ) เวชศาสตร์ป้องกัน ( แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก )
          ( ๑๓ ) เวชศาสตร์ป้องกัน ( แขนงสาธารณสุขศาสตร์ )
          ( ๑๔ ) เวชศาสตร์ป้องกัน ( แขนงสุขภาพจิตชุมชน )
          ( ๑๕ ) เวชศาสตร์ป้องกัน ( แขนงอาชีวเวชศาสตร์ )
          ( ๑๖ ) เวชศาสตร์ฟื้นฟู
          ( ๑๗ ) ศัลยศาสตร์
          ( ๑๘ ) ศัลยศาสตร์ตกแต่ง
          ( ๑๙ ) ศัลยศาสตร์ทรวงอก
          ( ๒๐ ) ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
          ( ๒๑ ) ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
          ( ๒๒ ) สูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา
          ( ๒๓ ) โสต ศอ นาสิกวิทยา
          ( ๒๔ ) อายุรศาสตร์

แล้วก็เป็นพวกสาขาสับบอร์ด อันนี้ต้องผ่านอบรมแพทย์ประจำบ้านในสาขาหลักเสียก่อน ถึงจะไปสมัครเรียนได้ อันนี้ก็ต้องอับเดทกับเกณฑ์ของแพทยสภา http://www.tmc.or.th/detail_doctor.php ไปในแต่ละปี และก็ต้องเข้าไปดู ไปถาม หรือ โทรไปจิก ถามรายละเอียดในที่ที่ตนสนใจ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเอาเอง แพทยสภาเป็นหน่วยงานกลางในการจัดสรรว่าจะเปิดอบรมที่ไหนได้กี่ตำแหน่ง และมีข้อมูลส่วนกลาง แต่การรับสมัคร ต่างๆ จะทำกันเอง ไม่ได้มีหน่วยกลางอย่าง อเมริกา ที่แมทช์รวมกันทั้งประเทศ (แต่กำหนดเปิด สมัคร สัมภาษณ์ อะไร ก็ทำกันเอง) เพราะฉะนั้น ก็ต้องหาข้อมูลกันดีๆ และมีเส้นสาย (หมายถึงรู้จักมักจี่กันมาก่อน หรือเรียกว่า ลูกหม้อ ก็ง่ายกว่าเป็นธรรมดา) และมีอีกหลายๆ อย่างที่ต้องคำนึง ไว้มาว่ากันต่อไป


แต่วันนี้อยากให้เห็นภาพกว้างๆ ว่า มีอะไรให้เลือกบ้างในประเทศ สำหรับ การจะเป็นแพทย์เฉพาะทาง (ซึ่งล้นแล้ว) และการจะเลือกเรียนอะไร มีความสัมพันธ์กับการวางแผนใช้ทุนอย่างไร ซึ่งอันนี้สำคัญมากเพราะบางสาขาบอกว่า จะต้องปฏิบัติงานมาแล้วกี่ปี อะไรทำนองนี้ (เช่น จักษุ หรือ ตจวิทยา) จะลาออกมาก็ยังมาเรียนไม่ได้อยู่ดี (ไม่ได้ส่งเสริมให้ลาออกนะ แค่บอกว่ามันมีทางเลือกแบบนี้ ก็ลองดู) ถ้าใช้ทุนจนครบ ก็มักไม่มีปัญหาในการเลือกเรียนในสาขาต่างๆ แต่สำหรับผู้สนใจสาขาขาดแคลน ก็สามารถมาเรียนได้เลย ก็เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนที่อยากปิดสมอง (ไม่จริงหรอก เพราะเป็นหมอก็ต้องใช้สมองแหละ) โดยเร็ว จะได้ทำงานทำการเสียที แต่จริงๆ คือ จะบอกว่า กรุณาดูสาขาที่เรียนด้วย ว่าอยากเรียนจริงหรือไม่ เพราะอะไร เอาเป็นว่า ยังไม่พูดว่า จะเลือกอะไรยังงัย เอาเป็นว่า ให้รู้ว่ามีอะไรให้เลือกบ้างก็แล้วกันนะครับ

 

Proportions of medical specialists to general practitioners in Thailand is increasing up to nearly 80% in 2006.

ลิ้งค์การจัดสรรทุนแพทย์ประจำบ้านของกระทรวงสาธารณสุขระบบสมัครแพทย์ประจำบ้าน ปีการศึกษา 2555 http://imd.moph.go.th/resident/ สามารถเข้าไปเช็คได้ ประมาณวันที่ 26 สิงหาคมเป็นต้นไป สำหรับปี 2555 ที่จะมาถึง

6 comments:

  1. ปัญหาสำคัญประเทศไทยคือการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน ใช้เรื่องเส้นสายกันมากเกินไป ต่างจากประเทศเจริญแล้วที่ใช้การสอบแข่งขันทั่วประเทศ และ matchingเป็นหลัก วงการแพทย์ไทยจึงไม่ก้าวไกลสักที

    วงการที่เต็มไปด้วยคนไอคิวสูง แต่อีคิวมีปัญหา

    ReplyDelete
  2. ภาควิชาของผมไม่มีการใช้เส้นสาย ครับ ผมเข้าร่วมเป็นกรรมการและรับทราบดี แต่ถามว่ามีเส้นสาย ยอมรับว่ามันมี มันเป็นสันดานของมนุษย์โลกครับ ประเทศไหนก็มี
    ต่างประเทศคือประเทศไหนครับ ถ้าหมายถึงสหรัฐ ไม่มีการสอบแข่งขันใดๆที่ว่า มีแต่สอบไลเซนส์ ปัจจุบันคะแนนสอบ ศรว หรือไทยไลเซนส์เราก็เอามาพิจารณาในการคัดเลือกเรสิเด๊นซ์ของเราครับ

    สรุปไม่มีการสอบแข่งขันนะครับ มีแต่การคัดเลือกโดยการสัมภาษณ์จากการสมัครส่งประวัติไป แล้วใครว่าฝรั่งไม่มีเส้นสายครับ ขอยืนยันว่ามีครับ
    ส่วนระบบแมทชิ่ง สาขาอายุรศาสตร์ไทยตอนนี้ก็มีระบบแมทชิ่งแล้วครับ ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไร เพราะมันจะต้องให้ที่เรียนเรียกสัมภาษณ์เสียก่อน ถ้าเขาไม่เรียกไปสัมภาษณ์ ก็ไม่สามารถเลือกแมทชิ่งได้อยู่ดี คำว่าแมทชิ่งจึงไม่มีความหมายอะไร การสรุปเอาง่ายๆ ถึงสาเหตุตามอำเภอใจ ต่างหากที่ทำให้วงการวิชาการไทยไม่ค่อยเจริญครับ

    จากผู้เขียนบล็อค

    ReplyDelete
  3. บล๊อคพี่เปิดโลกทัศน์ผมมากๆเลยครับ ผมเพิ่งจะเริ่มต้นเรียนแพทย์ เพิ่งเข้ามาในcommunityนี้ ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเลยครับ ตอนนี้ได้แต่คิดว่าเดี๋ยวจะเรียนให้ดีดี ปีสามสอบ ศรว ก็จะตั้งใจให้ได้คะแนนดีดี ตอนนี้ผมรู้อยู่เท่านี้ครับ

    ReplyDelete
  4. สรุปแล้ว ประเทศไทยก็ไม่สามารถก้าวพ้นวังวนเดิมๆ

    ReplyDelete
  5. สังคมทุกสังคมล้วนมีเส้นสายครับ แต่สังคมคณะแพทย์แปลกอย่างนึงคือมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่ได้อยากเป็นหมอ และไม่รู้จะเรียนอะไร หรือไม่ก็พ่อแม่อยากให้เรียน อยากรวย เข้ามาในคณะนี้ แต่คณะอ่ืนๆส่วนใหญ่จะอยากเรียนจริงๆถึงเข้า

    ReplyDelete